Home คดีอาญา ของหมั้นและสินสอดฟ้องเรียกคืนได้หรือไม่

ของหมั้นและสินสอดฟ้องเรียกคืนได้หรือไม่

1256

ของหมั้นและสินสอดฟ้องเรียกคืนได้หรือไม่

เมื่อฝ่ายชายเรียกคืนสินสอดหรือของหมั้นคืนจากหญิง ในการนำของหมั้นหรือสินสอดมาคืนให้แก่ฝ่ายชายนั้นกฎหมายได้มีการกำหนดไว้อยู่ว่าการคืนของหมั้นหรือสินสอดนั้นจะต้องคืนเป็นจำนวนเท่าใด รวมทั้งได้มีการบัญญัติถึงวิธีการในการเรียกคืนของหมั้นหรือสินสอดไว้อยู่ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

1.ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงิน

ในการคืนสินสอดหรือของหมั้นนั้นฝ่ายหญิงต้องคืนเงินเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกเงินคืนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักเรื่องลาภมิควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412 “ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน” โดยหลักการทั่วไปแล้วย่อมถือว่าหญิงนั้นรับเงินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดไว้โดยสุจริตเสมอ เช่น ชายหมั้นหญิงด้วยเงินสดเป็นเงินจำนวน 1 ล้านบบาท เมื่อหญิงรับเงินดังกล่าวไว้ในขณะทำสัญญาหมั้นแล้วเงิน 1 ล้านบาทดังกล่าวย่อมตกเป็นของฝ่ายหญิงทันที หากต่อมาหญิงได้นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายบางส่วนจนเหลือเงินเพียงจำนวน 1 แสนบาทเ เมื่อชายเรียกคืนของหมั้นดังกล่าว หญิงต้องคืนของหมั้นที่เป็นเงินเพียงจำนวน 1 แสนบาทที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น หรือหากหญิงใช้สอยเงินที่เป็นของหมั้นไปหมดแล้วก็ไม่มีอะไรที่หญิงต้องคืนให้แก่ชาย(ในกรณีที่หญิงสุจริต) แต่ในกรณีที่หญิงนำเงินของหมั้นหรือสินสอดไปซื้อทรัพย์สินอื่นมาทรัพย์มินอื่นที่ได้ซื้อมานั้นจะต้องคืนให้ฝ่ายชายไปด้วยเพราะถือเป็นการช่วงทรัพย์ ตามมาตรา 226

2.ของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงินตรา

ในการคืนสินสอดหรือของหมั้นฝ่ายหญิงต้องคืนทรัพย์สินนั้นในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาขณะที่เรียกคืนนั้น กล่าวคือ ในขณะเรียกคืนสินสอดหรือของหมั้นนั้น ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดหรือของหมั้นจะมีสภาพเป็นอย่างไรก็ต้องคืนไปตามสภาพนั้น ฝ่ายหญิงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในความสูญหายหรือบุบสลายแต่อย่างใดแม้ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนก็ตาม ตัวอย่างเช่น ฝ่ายชายนำรถยนต์มาให้เป็นสินสอดแก่บิดามารดาของหญิง ต่อมาบิดามารดาของหญิงนั้นได้ใช้รถยนต์คันที่เป็นสินสอดจนเสื่อมราคาลงไป หากจะต้องมีการคืนสินสอดให้แก่ชายบิดามารดาหญิงก็ต้องคืนรถยนต์คันที่เป็นสินสอดตามสภาพที่เสื่อมราคานั้นไปโดยไม่ต้องรับผิดในเหตุแห่งการเสื่อมราคานั้นด้วย หากกลับกันเป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะการกระทำของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้นจากฝ่ายชายด้วย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments