Home บทความคดีแพ่ง หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด

883

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด

หลักฐานแห่งการ กู้ยืมไม่จำเป็นจะต้องมีในขณะทำสัญญากู้ยืม อาจจะมีขึ้นภายหลังการทำสัญญาก็ได้ แต่จะต้องมีก่อนฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืม

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๖๔/๒๕๒๘ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ไม่ใช่ แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าหลักฐานนั้นจะต้องมีในขณะกู้ยืม หลักฐาน แห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๔๖/๒๕๓๕ หลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสืออาจมีขณะ หรือมีภายหลังก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๖๑/๒๕๕๒ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อน หรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้

หนี้เงินกู้ที่ อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ ร่วมกัน ต่อโจทก์ การที่ อ. ยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้

โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อ ไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็น

หนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัด จำเลย ต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์

 

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments