Home บทความคดีแพ่ง การเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

การเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1039

การเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

มาตรา ๑๔๔๐ ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้

(๑) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น (๒) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้ จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร (๓) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหา ได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่า ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

อธิบาย

๑. มาตรา ๑๑๔๐ หมายถึง การเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้นเมื่อฝ่ายใดฝ่าหนึ่งผิดสัญญาหมั้น หากเป็น กรณีฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย

๒. ค่าทดแทน ที่เรียกได้เพราะเหตุผิดสัญญาหมั้น คือ

(๑) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น (๒) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร (๓) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมา หาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส หากนอกเหนือไปจาก

ทั้งสามอนุมาตรานี้ก็ไม่อาจเรียกได้โดยอาศัยเหตุแห่งการผิดสัญญาหมั้น ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ถือว่าผิดสัญญาหมั้น

ฎ.๔๙๐๕/๒๕๔๓ พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจอง สถานที่จัดงานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งการติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรสล้วนส่อแสดง ว่าจำเลยประสงค์จะสมรสกับโจทก์ การให้แหวนกันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการหมั้นและเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรสกัน ในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปสมรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ข้อสังเกต : ฎีกานี้จำเลยไปสมรสกับคนอื่นไม่ยอมสมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

๔. หากไม่มีการหมั้น หรือถือไม่ได้ว่ามีการหมั้น แม้อีกฝ่ายจะไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ เช่น ชายและหญิงตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงอีก ฝ่ายก็ไม่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ แม้จะได้ความเสียหายตามมาตรา ๑๑๔๐ ก็ตาม (ฎ.๔๕/๒๕๓๒) หรือหากเป็นกรณีที่ ชายและหญิงต่างไม่นำพากันและกันไปจดทะเบียนกรณีเช่นนี้จะมาอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาหมั้นไม่ได้ (ฎ.๑๓๓๖/๒๕๑๘) ฎ.๔๕/๒๕๓๒

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments