Home บทความคดีแพ่ง คดีเช็คเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้หรือไม่

คดีเช็คเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้หรือไม่

2355

คดีเช็คเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้หรือไม่

1. คดีเช็คเป็นความผิดอาญาที่ยอมความได้ ความผิดอาญาที่ยอมความได้คือ ความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าให้ยอมความกันได้

ถือว่าเป็นความผิดต่อส่วนตัว ให้โอกาสผู้เสียหายที่จะไม่เอาความกับผู้ถูกกล่าวหาผู้ต้องหาหรือจำเลย ความผิดที่กฎหมาย บัญญัติว่าเป็นความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายก็สามารถตกลงยอมความกับผู้ต้องหา หรือจำเลย ปกติผู้กระทำความผิดคดีอาญาจะต้องถูกดำเนินคดีโดยพนักงานสอบสวนและ พนักงานอัยการจะเป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อลง

โทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย แต่มีคดีอาญา บางประเภทที่กฎหมายให้ผู้เสียหายยอมความคือไม่เอาความกับจำเลยหรือผู้ต้องหาได้

โดยต้องยอมความกันเสียก่อนคดีถึงที่สุด ถ้าคดีถึงที่สุดแล้ว เช่น มีคำพิพากษาลงโทษจำเลย ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้จะยอมความกันไม่ได้

คดีอาญาข้อหาใดหรือประเภทใดที่จะยอมความกัน ได้จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนโดยเฉพาะ โดยไม่คำนึงถึงความหนักเบาแห่งข้อหา หรือโทษในข้อหานั้น เช่น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 4 ก็ให้ยอมความกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 ว่า “ความผิดตามมาตรา 4 เป็น

ความผิดอันยอมความได้” ความผิดอื่นๆ ที่กฎหมายบัญญัติให้ยอมความได้ เช่น ความผิด ฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

ซึ่งในมาตรา 348 บัญญัติว่าให้เป็น ความผิดยอมความได้ ความผิดข้อหายักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมาตรา 356

บัญญัติว่าเป็นความผิดยอมความได้ ความผิดบางอย่างมีโทษต่ำแต่กฎหมาย ไม่ให้ยอมความกัน เช่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้เสียหายจะยอมความไม่ได้เพราะกฎหมายไม่ได้ บัญญัติไว้ว่าให้ยอมความกันจึงต้องดำเนินคดีกับผู้ต้องหาหรือจำเลยถึงที่สุด

การยอมความในคดีอาญา คือการที่ผู้เสียหายแสดงเจตนาว่าจะไม่ติดใจเอาความ หรือไม่ติดใจเอาเรื่องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย วิธีการยอมความในคดีอาญานั้นไม่มีรูปแบบ จะยอมความในศาลหรือนอกศาลก็ได้เพียงแต่พิสูจน์ให้ได้ความว่ามีการยอมความกันแล้ว

Facebook Comments