Home ข่าวสาร สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ?

สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ?

1260

สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้คือ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา ๙๔  เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

 

สัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง สามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษา มีดังต่อไปนี้  คือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๖/๒๕๕๒

ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ก่อสร้างชำรุดบกพร่องแล้วไม่ยอมแก้ไขให้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญา เป็นเรื่องความรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่โจทก์ในฐานะผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 595 จึงไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา

โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ส่วนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว จำเลยต้องชดใช้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ และจำเลยมีสิทธิที่จะคิดหักค่าเสียหายที่ต้องซ่อมแซมงานที่โจทก์ก่อสร้างชำรุดบกพร่องออกจากค่าจ้างที่ยังค้างชำระอยู่ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา

หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่า “การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดราคากันใหม่และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยืดเวลาออกไปอีกก็จะตกลงกัน ณ บัดนั้น โดยกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร” ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเพิ่มเติมงานและราคากันใหม่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จึงถือว่าโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง

จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างชำรุดบกพร่อง 446,430 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่จำเลย 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็น 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าเสียหายงานฉาบปูนตารางเมตรละ 100 บาท รวม 420 ตารางเมตร เป็นเงิน 42,000 บาท งานทาสีภายนอกอาคาร ให้ตารางเมตรละ 62 บาท รวม 420 ตารางเมตร เป็นเงิน 26,040 บาท งานซ่อมผนังร้าวชั้นสองจำนวน 1 จุด เป็นเงิน 1,200 บาท และงานซ่อมรอยร้าวที่ผนังและคานทั้งหมด 4 จุด ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท ซึ่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงินเพียง 77,240 บาท เท่านั้น ไม่ใช่ 102,080 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณให้ จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งในจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายในส่วนความชำรุดบกพร่องนี้จึงยังไม่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจแก้ไขคิดคำนวณใหม่ให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้

 

Facebook Comments