Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ กรณีรถหาย ประกันภัยต้องรับผิดชอบ  ?

กรณีรถหาย ประกันภัยต้องรับผิดชอบ  ?

1499

 

กรณีรถหาย ประกันภัยต้องรับผิดชอบ  ?

 

ประเด็นดังกล่าวนี้มีบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

มาตรา ๘๙๗ นว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ

บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย

อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว

 

จากกรณีตามประเด็นดังกล่าวมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ศึกษาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๐๕/๒๕๕๙

 

ข้อความว่า พฤติกรรมของโจทก์ที่จอดรถโดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้ว ลงจากรถไปซื้อของ เป็นการขาดความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์ หากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตามสมควรโดยดับเครื่องยนต์และล็อกประตูรถยนต์ให้เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าคนร้ายไม่สามารถลักรถยนต์ของโจทก์ไปได้โดยง่าย เหตุที่คนร้ายลักรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เกิดขึ้น เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคหนึ่ง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772 / 2560

 

 ได้วินิจฉัยในประเด็นทีรถหายในระหว่างที่ ผ่อนชำระกับสถาบันการเงินไว้น่าสนใจว่า เมื่อทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย โดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไป ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องรับผิดในการชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป อีกหนึ่งตัวอย่างที่การสูญหายหรือถูกโจรกรรม เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของรถเอง เนื่องจากจอดรถ โดยติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วลงจากรถไปซื้อของ และถูกโจรกรรมรถ ต่อมาเจ้าของรถฟ้องต่อศาลให้บังคับบริษัทรับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย กรณีนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ เนื่องจากเหตุที่คนร้ายลักรถยนต์เกิดขึ้น เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถเอง

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2523

คำว่า “ไม่ได้ล็อกกุญแจรถยนต์” ที่เจ้าพนักงานตำรวจบันทึกไว้หมายความถึงไม่ได้ล็อกกุญแจประตูรถยนต์ ไม่หมายความถึงไม่ได้ดึง กุญแจติดเครื่องยนต์ออก และการที่จอดรถยนต์ไว้ที่ริมถนนลาดพร้าว โดยไม่ได้ล็อกกุญแจประตูรถยนต์ แต่ได้ดึงกุญแจติดเครื่องยนต์ออก และทิ้งรถยนต์ ไว้เพียงประมาณ 10 นาที เพื่อไปซื้อของที่ร้านค้าริมถนนลาดพร้าวห่างจากที่จอดราวประมาณ 3 เมตร โดยที่ยังมีผู้คนอยู่ในบริเวณนั้น แล้วรถที่ทำประกันรถยนต์ไว้ได้หายไป มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด

 

            ดังนั้นพอสรุปได้ว่า หากรถหายเพราะความประมาทของผู้ใช้รถ  ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ

 

 

Facebook Comments