Home บทความคดีแพ่ง เหตุผลที่กฎหมายบังคับว่าเช็คต้องลงวันที่เพราะเหตุใด

เหตุผลที่กฎหมายบังคับว่าเช็คต้องลงวันที่เพราะเหตุใด

626

เหตุผลที่กฎหมายบังคับว่าเช็คต้องลงวันที่เพราะเหตุใด

เหตุผลที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องมีวันที่ออกเช็คหรือผู้สั่งจ่ายต้องลงวันที่ ในเช็คจึงจะเป็นความผิดทางอาญา

ก็สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) ซึ่งบัญญัติว่า “คำฟ้องในคดีอาญาต้องทำเป็น หนังสือ และมีรายการ… (5)

การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ…”

ตามบทบัญญัติของ กฎหมายดังกล่าว คำฟ้องในคดีอาญา โจทก์จึงต้องระบุวันเวลาที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำ

ความผิดมาด้วย มิฉะนั้นเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และศาลอาจจะยกฟ้องได้ ดังนั้นคดีอาญา เกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คก็เช่นเดียวกัน

โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำ ความผิดในวันเวลาใด ซึ่งในกรณีดังกล่าวกฎหมายให้ถือเอาวันที่ที่ลงในเซ็คนั้นเป็นวันที่ที่

จำเลยเริ่มกระทำความผิด และความผิดสำเร็จเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 1017/2507) ฎีกา 1517/2552 (ล.6/21)

วันที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินในวันเกิดเหตุ ในทางตรงกันข้ามถ้าจำเลยหรือผู้ใช้เช็คไม่ได้ลงวันที่ในเช็คหรือมอบเช็คให้แก่กันยังไม่มีวันที่

ก็เท่ากับไม่มีวันที่ที่จะถือว่าจำเลยกระทำความผิด ทางอาญานั้นเอง ในกรณีดังกล่าวผู้ใช้เซ็คหรือผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีความผิดทางอาญา สำหรับ

วันที่ที่จะเขียนหรือกรอกลงในเช็คนั้นจะต้องมีวันเดือนปีครบถ้วน โดยจะใช้ภาษาและตัวเลขไทย หรืออารบิทก็ได้ และจะเขียนหรือกรอกตัวเลขเต็มหรือโดยย่อก็ได้

เช่น “วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2545 หรือ วันที่ 15 ธ.ค.45″ หรือ “วันที่ 15-12-45 หรือ 15/12145” หรือ “วันที่ 15 ธันวาคม 2002 หรือ 15-12-2002 หรือ “15-12-02” ก็ได้

Facebook Comments