Home คดีครอบครัว การหย่ามีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง

การหย่ามีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง

5287

การหย่ามีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง

การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกับการหย่า โดยคำพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

๑.๑ การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานสองคน

มทการหย่าโดยความยินยอมนั้น สามีและภริยาทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมหย่าขาด จากกันโดยการทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคนตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อ ๑๔ วรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่าสามีภริยาได้ตั้งใจ หย่าขาดกันจริง ๆ ถึงขนาดทำหนังสือกันต่อหน้าพยาน มิใช่เป็นเพียงพูดกันด้วยความ โมโหเท่านั้น หนังสือหย่านั้นอยู่ในบังคับแห่งมาตรา ๙ ที่จะต้องให้คู่หย่านั้นลงลายมือชื่อ ในหนังสือหย่าด้วย มิฉะนั้นก็เป็นหนังสือหย่าไม่ได้ ถ้าสามีภริยาตกลงยินยอมทำหนังสือ หย่ากันโดยมีพยานลงลายมือชื่อแล้ว แม้จะมีพยานเพียงคนเดียวแต่มีผู้ทำบันทึกอีก คนหนึ่งลงชื่อในฐานะผู้บันทึกข้อความแล้วถือว่าผู้ทำบันทึกซึ่งรู้เห็นข้อตกลงเป็นพยานอีก คนหนึ่งได้โดยไม่ต้องมีคำว่าพยานกำหนดไว้ สามีฟ้องให้ภริยาไปจดทะเบียนหย่าได้ หรือ นังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อ ยมือชื่อ ๒ คน โดยสามีลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานทั้งสอง ต่ภริยาลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานคนเดียว หนังสือหย่าก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย น น น น สองคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๙๐/๒๕๓๓ ตำรวจลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลง กรหย่า ถือว่าเป็นพยานด้วย

๑.๒ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียน

เมื่อสามีและภริยาตกลงกันทำหนังสือหย่าโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง สองคนแล้ว ทั้งสามีและภริยาจะต้องนำหนังสือหย่านี้ไปจดทะเบียนการหย่า ณ ที่ว่าการ อำเภอ ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนการหย่าก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๑๕ อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ นี้ใช้บังคับ เฉพาะการสมรสที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ เท่านั้น สำหรับชายหญิงที่เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อจะหย่ากันด้วยความยินยอมจะทำหนังสือหย่ากันตาม มาตรา ๑๕ ๑๔ วรรคสอง เท่านั้น ก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่ต้องจดทะเบียนการหย่าอีก นอกจากนี้การสมรสอาจได้จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ เช่น จดทะเบียนสมรส กันในต่างประเทศตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อไม่มีการ จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ก็ไม่จำเป็นต้อง จดทะเบียนการหย่าเช่นเดียวกัน การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์โดยไม่ต้องจดทะเบียน การหย่า

ถ้าสามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว แต่สามีไม่ยอมจดทะเบียน การหย่า ภริยาย่อมฟ้องให้ศาลบังคับให้สามีไปจดทะเบียนการหย่าได้ ถ้าจำเลยไม่ไป จดทะเบียนหย่ากับโจทก์ ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๐/๒๕๓๗) ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลเยาวชนและครอบครัว (คำวินิจฉัยของ ประธานศาลฎีกาที่ ๒/๒๕๔๐) บ

การทำหนังสือหย่าที่จะมีผลใช้บังคับกันได้นี้สามีและภริยาจะต้องมีเจตนาที่จะ หย่าขาดจากกันจริง ๆ หากเพียงทำหนังสือหย่ากันพอเป็นพิธีโดยมิได้มีเจตนาที่จะหย่า ขาดกันจริง ๆ เช่น เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลอกเจ้าหนี้ ฯลฯ หนังสือหย่าดังกล่าว มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้แม้ในชั้นแรกสามีและภริยามีเจตนาที่จะหย่าขาดกันจริง ๆ โดยได้ทำหนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อ ๒ คนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการหย่ายัง ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนการหย่า สามีและภริยาจึงอาจตกลงกันเลิกสัญญา หย่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๒๐/๒๕๒๗ ฟ้องให้จดทะเบียนหย่าตามหนังสือหย่า มีอายุความ ๑๐ ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๖๕/๒๕๔๐ ตกลงหย่าโดยมีเงื่อนไข เมื่อยังไม่สำเร็จ ตามเงื่อนไข จะฟ้องบังคับให้จดทะเบียนหย่าไม่ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๙๐/๒๕๕๒ การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน ! เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี แต่ยังคงอยู่กินและอุปการะเลี้ยงดูกันเสมือนมิได้หย่ากัน : เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน การหย่าดังกล่าวเป็นโมฆะตามประมวล (กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕ คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าการหย่าเป็นโมฆะ และขอแบ่งทรัพย์ที่ทำมาหาได้จึงเป็นการขอเข้าจัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยซึ่งโจทก์มี สิทธิร้องขอได้ตราบเท่าที่โจทก์และจำเลยยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ กรณีนี้มิใช่เป็น สิทธิเรียกร้องที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๑๙๓/๔๙ แม้นับเวลาจากวันจดทะเบียนหย่าถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน ๑๐ ปีแล้ว คดีโจทก์ก็ไม่ขาด อายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๓๗/๒๕๕๖ สามีภริยาตกลงหย่าและแบ่ง ทรัพย์สินกันโดยมอบเช็คตามข้อตกลงให้ภริยา แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่า ภริยาจะมา เฟื่องเรียกเงินตามเช็คไม่ได้

๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

ในการฟ้องคดีคู่สมรสจะต้องอาศัยเหตุหย่าเหตุใด เหตุหนึ่งหรือหลายเหตุตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑๖ จะอาศัยเหตุอื่นนอกเหนือจากนี้มาเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ เช่นอ้างเหหตุว่าสมรสซ้อน หรือภริยาผิดข้อตกลงเรื่องไม่นำบุตรและญาติเข้ามาอยู่บ้าน ไม่ใช่เหตุฟ้องหย่า ศาลต้องยกฟ้อง และอ้างการมรสเป็นโมฆะ เพราะโจทก์จำเลย ไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากัน ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ (คำพิพากษาศาล ฎีกาที่ ๑๐๔๔๒/๒๕๕๘)

เหตุฟ้องหย่าตามที่มาตรา ๑๕๑๖ กำหนดไว้มี ๑๒ เหตุ ซึ่งทั้ง ๑๒ เหตุนี้ใช้ บังคับในทุกกรณีที่มีการฟ้องหย่าเกิดขึ้น ไม่ว่าสามีภริยานั้นจะสมรสกันตามกฎหมายใด ไม่ว่าจะเป็นสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย สามีภริยาตามบรรพ ๕ เก่า สามี ภริยาตามบรรพ ๕ ใหม่ หรือสามีภริยาตามบรรพ ณ ปัจจุบัน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments