Home ทั้งหมด จุดพิจารณาว่าเป็นเจ้าของรวมหรือสินสมรสหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

จุดพิจารณาว่าเป็นเจ้าของรวมหรือสินสมรสหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

1710

จุดพิจารณาว่าเป็นเจ้าของรวมหรือสินสมรสหรือไม่ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

หัวข้อที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2539

โจทก์ฟ้องว่า

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ และ จำเลย จดทะเบียนสมรส กัน เมื่อ วันที่13 สิงหาคม 2508 ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ จำเลย ยัง อยู่กิน ฉัน สามี ภริยากัน นั้น มี ทรัพย์สิน ซึ่ง ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่28599 และ 28601 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง กับ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185 และ 186 ต่อมา เมื่อ วันที่ 29มกราคม 2522 โจทก์ จำเลย ได้ จดทะเบียน หย่า กัน เพราะ ใน ขณะ นั้น โจทก์มี หนี้สิน จำนวน มาก แต่ โจทก์ จำเลย ยัง คง อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กันตาม ปกติ ยัง ไม่ได้ แบ่ง สินสมรส และ มี ทรัพย์สิน ซึ่ง ร่วมกัน ทำ มา หา ได้คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 89464 และ 89465 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง กับรถยนต์ 1 คัน หมายเลข ทะเบียน ข-0522 นครปฐม และ รถยนต์โดยสารประจำทาง หมายเลข ทะเบียน 10-0413 นครปฐม พร้อม สิทธิ การ เดินรถดังกล่าว จำเลย ได้ นำ เงิน ที่ ได้ มาจาก การ ขาย ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185 และ 186 อันเป็น ทรัพย์สิน ของโจทก์ จำเลย ไป ซื้อ มา ต่อมา โจทก์ จำเลย ตกลง เลิก อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กันโดย เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 โจทก์ ย้าย ไป อยู่ จังหวัดราชบุรี ก่อน ฟ้องโจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย แบ่ง ทรัพย์สิน ซึ่ง เป็นกรรมสิทธิ์รวม ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ทราบ แล้วแต่ เพิกเฉย ขอให้ พิพากษาว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ 28601 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง และ ที่ดินโฉนด เลขที่ 89464 และ 89465 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ของ โจทก์กึ่งหนึ่ง กับ พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม ใน รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน ข-0522 นครปฐม และ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง คัน หมายเลขทะเบียน 10-0413 นครปฐม พร้อม ด้วย สิทธิ การ เดินรถ ร่วม กิจการ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด เส้นทาง เดินรถ ประจำทาง หมวด 4 สาย นครปฐม – อ้อม ใหญ่ โดย ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม กึ่งหนึ่ง ในที่ดิน ทั้ง 4 แปลง ดังกล่าว หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา หาก ไม่สามารถ แบ่งปัน ทรัพย์สิน ดังกล่าว ได้ ให้ นำ ออกขายทอดตลาด แล้ว นำ เงิน มา แบ่งปัน ให้ แก่ โจทก์ กึ่งหนึ่ง

จำเลยให้การต่อสู้

จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เคย จดทะเบียนสมรส กับ โจทก์ ต่อมา วันที่29 มกราคม 2522 จึง ได้ หย่า กัน จำเลย หา ได้ อยู่กิน ฉัน สามี ภริยากับ โจทก์ ไม่ ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ จำเลย เป็น สามี ภริยา กัน นั้น มีทรัพย์สิน ที่ ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ28601 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม จังหวัด นครปฐม แต่ หลังจาก หย่า แล้ว จำเลย ทำ มา หากิน จน มี ฐานะ ดี จึง ได้ นำ เงิน ไป ซื้อที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185 และ186 ตำบล หินดาด อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี เมื่อ ที่ดิน ดังกล่าว มี ราคา ดี จำเลย จึง ขาย และ นำ ไป จ่าย ให้ แก่ โจทก์ จำนวน1,000,000 บาท เพื่อ เป็น การ จ่าย ค่าที่ดิน ทั้ง 2 แปลง อันเป็นสินสมรส ส่วน บ้าน ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ที่ เป็น สินสมรส จำเลย เป็นผู้ ปลูกสร้าง ขึ้น ด้วย เงิน ของ จำเลย เอง สำหรับ ที่ดิน อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ทั้ง 3 แปลง ดังกล่าว ต่อมา จำเลย ได้ ขาย ไปแล้ว นำ เงิน ไป ซื้อ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง โฉนด เลขที่ 89464 และ89465 รถยนต์ กับ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ทรัพย์สิน ดังกล่าว จึง เป็นของ จำเลย แต่เพียง ผู้เดียว ขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 89464 และ 89465 ตำบล บางแคเหนือ อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง และ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข-0522 นครปฐม กับ รถยนต์โดยสารประจำทาง คัน หมายเลข ทะเบียน 10-0413 นครปฐม พร้อม สิทธิ การ เดินรถร่วม กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด เส้นทาง เดินรถ ประจำทาง หมวด 4 สาย นครปฐม -อ้อม ใหญ่ เป็น ของ โจทก์ และ จำเลย โดย โจทก์ มีสิทธิ อยู่กึ่งหนึ่ง ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม ในที่ดิน ทั้ง 2 แปลง ดังกล่าว หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก

ในชั้นอุทธรณ์ศาลมีคำพิพากษา

โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ จำเลย เป็น สามี ภริยา กัน โดยชอบ ด้วย กฎหมายมี บุตร ด้วยกัน 6 คน ต่อมา วันที่29 มกราคม 2522 โจทก์ จำเลย ได้ จดทะเบียนหย่า กัน ตาม สำเนา ทะเบียน การ หย่า เอกสาร หมาย จ. 6 มี ปัญหา วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 หยิบยก ข้อเท็จจริง ว่าการจดทะเบียน หย่า ดังกล่าว ไม่สมบูรณ์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขึ้นวินิจฉัย เป็น การ ไม่ชอบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบ มาตรา 246 นั้น เห็นว่า กรณี คดี นี้ ประเด็น มี เพียง ว่าทรัพย์สิน ที่ ได้ มา ก่อน โจทก์ จำเลย จดทะเบียน หย่า เป็น สินสมรส หรือไม่และ ทรัพย์สิน ที่ จำเลย ได้ มา หลัง โจทก์ จำเลย จดทะเบียน หย่า โจทก์เป็น เจ้าของรวม ด้วย หรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ยก เอาเรื่องการ จดทะเบียน หย่า สมบูรณ์ หรือไม่ มา เป็น ข้อ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของประชาชน ที่ ให้ ศาล มีอำนาจ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ได้ โดย ไม่มี คู่ความฝ่ายใด กล่าวอ้าง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ก็ ตาม แต่ จะ ต้อง เป็น ข้อกฎหมาย ที่ ได้ มาจาก ข้อเท็จจริง ใน การดำเนิน กระบวนพิจารณา โดยชอบ ตาม มาตรา 87 ข้อเท็จจริง ที่ เกิดขึ้นจาก พยาน นอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับ ที่ คู่ความ จะ ต้อง นำสืบ หรือ มี กฎหมายบังคับ ให้ ต้อง มี เอกสาร มา แสดง ศาล จะ รับฟัง มา วินิจฉัย เป็น ข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) หาได้ไม่คดี ใน ชั้น ชี้สองสถาน คู่ความ แถลงรับ ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ จำเลย ได้จดทะเบียน หย่าขาด จาก กัน เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2522 ข้อเท็จจริงจึง ต้อง ฟัง เป็น ยุติ ตาม ที่ คู่ความ แถลงรับ กัน ด้วย เหตุ นี้ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ยก เรื่อง การ จดทะเบียน หย่า ไม่สมบูรณ์ และ โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้อง ขึ้น วินิจฉัย จึง เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังกล่าวและ ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม ประเด็น ข้อพิพาท โจทก์ จำเลย ต่าง นำสืบ พยานหลักฐาน ไว้ แล้ว สมควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิจารณา และ วินิจฉัย อีก ซึ่ง ศาลฎีกา จะ ได้ วินิจฉัยประเด็น ข้อพิพาท ต่อไป

ที่ศาลวินิจฉัยประเด็นแรกการเป็นเจ้าของรวม

ประเด็น ข้อ แรก โจทก์ เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 89464และ 89465 ตำบล บางแคเหนือ อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข-0522 นครปฐม กับ รถยนต์โดยสาร คัน หมายเลขทะเบียน 10-0413 นครปฐม และ สิทธิ การ เดินรถ ดังกล่าว หรือไม่ ประเด็นข้อ สอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599และ 28601 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม จังหวัด นครปฐม พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น สินสมรส ที่ โจทก์ มีสิทธิ ขอ แบ่ง หรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัย ประเด็น ทั้ง สอง ข้อ พร้อมกัน ไป โจทก์ นำสืบ ว่า เหตุ ที่ โจทก์จดทะเบียน หย่า กับ จำเลย เนื่องจาก โจทก์ มี หนี้สิน มาก เมื่อจดทะเบียน หย่า กัน แล้ว โจทก์ จำเลย ยัง อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กัน ต่อไปต่อมา โจทก์ จำเลย ไป ซื้อ ที่ดิน ที่ อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี 2 แปลง แปลง แรก เนื้อที่ 20 ไร่ แปลง ที่ 2 เนื้อที่ 50 ไร่ โดย นำที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ 28601 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม จังหวัด นครปฐม ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 จ. 4 ไป จดทะเบียนจำนอง ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด แต่เมื่อ ออก หนังสือ รับรอง การ ทำ ประโยชน์ ออก ใน นาม ของ จำเลย ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่184, 185 และ 186 เอกสาร หมาย จ. 5 (รวม 3 ฉบับ ) จำเลย นำสืบ ว่าเมื่อ จำเลย หย่า กับ โจทก์ แล้ว จำเลย ได้ ซื้อ ที่ดิน จังหวัด กาญจนบุรีเป็น ที่ จับจอง ไม่มี หลักฐาน ต่อมา ได้ ดำเนินการ ออก หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 36 ล. 37 และ ล. 39 (ฉบับ เดียว กับ เอกสารหมาย จ. 5) เห็นว่า ฝ่าย โจทก์ นอกจาก ตัว โจทก์ แล้ว ยัง มี นายมะนาว และ นายเสลา บุตร โจทก์ จำเลย มา เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ยืนยัน ว่า โจทก์ จำเลย อยู่กิน กัน ฉัน สามี ภริยา ตลอดมาที่ บ้านพัก ตำรวจ ต่อมา โจทก์ จำเลย ย้าย ครอบครัว ไป อยู่ บ้าน เลขที่151/43-44 หลังจาก นั้น ได้ ขาย บ้าน ดังกล่าว แล้ว ไป อยู่ ที่ บ้าน เลขที่362 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ซึ่ง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ 28601 โจทก์ จำเลย เพิ่งแยก กัน อยู่ เมื่อ ประมาณ ปี 2533 ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ จำเลย อยู่กินเป็น สามี ภริยา กัน ได้ ร่วมกัน ซื้อ ที่ดิน ที่ อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี พยาน เคย เข้า ไป ช่วย บิดา มารดา ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ดังกล่าวเห็นว่า พยานโจทก์ ทั้ง สอง ปาก นี้ เป็น บุตร ของ โจทก์ จำเลย และ พัก อาศัยอยู่ กับ โจทก์ จำเลย มา ตลอด ตั้งแต่ ยัง เป็น เด็ก นับ ได้ว่า เป็น พยาน คนกลางทั้ง ขณะ เบิกความ นายมะนาว มี อาชีพ เป็น วิศวกร ส่วน นายเสลา เป็น นักศึกษา เป็น ที่ เห็น ได้ว่า เป็น ผู้ มี ความรู้สึก ผิด ชอบ ชั่ว ดี แล้วคำเบิกความ จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ นอกจาก นี้ ยัง ปรากฏ จากสำเนา ทะเบียนบ้าน เลขที่ 362 เอกสาร หมาย จ. 2 ว่า โจทก์ เข้า อยู่ ในบ้าน ดังกล่าว ตั้งแต่ วันที่ 12 ธันวาคม 2526 ซึ่ง จำเลย ก็ ยัง มี ชื่ออยู่ ใน ทะเบียนบ้าน นางเฟื่องฟ้า ซึ่ง มา เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ยืนยัน ว่า โจทก์ เป็น ผู้นำ เครื่อง รับ โทรศัพท์ เข้า มาติด ตั้ง ที่ บ้าน เลขที่ 362 เพื่อ ให้ คน ใน บ้าน ใช้ ประโยชน์ สอดคล้อง กับข้อ นำสืบ ของ โจทก์ ส่วน จำเลย คง มี แต่ ตัว จำเลย กับ นางเฟื่องฟ้า อ้างว่า เมื่อ โจทก์ จำเลย จดทะเบียน หย่า กัน แล้ว โจทก์ ก็ ออกจาก บ้าน ไปนางเฟื่องฟ้า เป็น บุตร ของ จำเลย ซึ่ง เกิดจาก สามี คน ก่อน ของ จำเลย อาจจะ เบิกความ เข้า ด้วย ช่วยเหลือ จำเลย คำเบิกความ ของ นางเฟื่องฟ้า จึง ต้อง ฟัง ด้วย ความระมัดระวัง เมื่อ ไม่มี พยาน อื่น สนับสนุน จึง มีน้ำหนัก น้อย ดังนั้น เมื่อ ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน โจทก์ จำเลยโดย ตระหนัก แล้ว เห็นว่า โจทก์ มี พยาน คนกลาง ซึ่ง เป็น บุคคล ใน ครอบครัวใกล้ชิด กับ โจทก์ จำเลย เบิกความ สนับสนุน ข้ออ้าง ของ โจทก์ พยานหลักฐานโจทก์ จึง มี น้ำหนัก มาก กว่า พยาน จำเลย ฟังได้ ว่า โจทก์ จำเลย จดทะเบียนหย่า กัน แล้ว ก็ ยัง คง อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา ตลอดมา จน กระทั่ง ตกลงเลิก อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กัน เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 มี ปัญหาต่อไป ว่า ได้ มี การ ตกลง แบ่ง สินสมรส กัน แล้ว หรือไม่ ข้อเท็จจริง รับฟังเป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น โดย โจทก์ จำเลย ไม่โต้แย้ง ว่าที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ 28601 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น สินสมรส และ มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไปว่า ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185, และ186 เอกสาร หมาย จ. 5 โจทก์ เป็น เจ้าของรวม ด้วย หรือไม่ ได้ความ ว่าหลังจาก โจทก์ จำเลย จดทะเบียน หย่า กัน แล้ว เมื่อ ปี 2526 ได้ ซื้อ ที่ดินที่ อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี รวม 3 แปลง โจทก์ ยืนยัน ว่า มี ส่วน ร่วม ซื้อ และ เอา เงิน ที่ ได้ จาก การ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599และ 28601 ไป จำนอง ธนาคาร แต่ จำเลย อ้างว่า จำเลย เป็น ผู้ซื้อ เพียงผู้เดียว เห็นว่า ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ที่ นำ ไป จำนอง นี้ เป็น สินสมรส และปรากฏว่า จำเลย ได้ นำ ไป จดทะเบียน จำนอง ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2526 ตาม สารบัญ การ จดทะเบียน เอกสาร หมายจ. 3 จ. 4 และ สัญญาจำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน (รวม 2 โฉนด ) การจำนอง ที่ดิน ดังกล่าว และ การ ซื้อ ที่ดิน ที่ อำเภอ ทองผาภูมิ ได้ กระทำใน ปีเดียว กัน นอกจาก นี้ ปรากฏ จาก แบบ บันทึก การ สอบสวน สิทธิ และ พิสูจน์การ ทำประโยชน์ เพื่อ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 185เอกสาร หมาย ล. 28 แผ่น ที่ 3 ซึ่ง เป็น เอกสาร ประกอบการ ออก หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ และ ใบ แจ้งความ ประสงค์ จะ ได้ สิทธิ ใน ที่ดินก็ ระบุ ชื่อ โจทก์ เป็น ผู้แจ้ง ต่อ เจ้าพนักงาน ลำดับ เลขที่ 337 วันที่25 พฤศจิกายน 2526 อันเป็น วันเดียว กับ ที่ จำเลย แจ้งความ ประสงค์ขอ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดิน เลขที่ 184 เอกสาร หมาย ล. 26แผ่น ที่ 3 นอกจาก นี้ นายส้ม พยาน จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ขาย ที่ดิน ให้ จำเลย ก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า โจทก์ ไป ดูแล การ ก่อสร้าง บ้านที่ ปลูก ใน ที่ดิน ขณะ นั้น แม้ โจทก์ จำเลย จะ จดทะเบียน หย่า กัน แล้วก็ ยัง คง อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กัน อยู่ ประกอบ กับ พฤติการณ์ ของ โจทก์จำเลย ดังกล่าว มา ข้างต้น น่าเชื่อ ว่า โจทก์ จำเลย เป็น ผู้ซื้อ ที่ดินและ ร่วมกัน ทำประโยชน์ โจทก์ จึง ร่วม เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185, และ 186 ดังนั้นเมื่อ จำเลย ให้การ รับ ว่า นำ ที่ดิน ทั้ง สาม แปลง ไป ขาย และ นำ เงิน ที่ ได้ไป ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 89464 และ 89465 ตำบล บางแคเหนือ อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข-0522นครปฐม และ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง คัน หมายเลข ทะเบียน 10-0413นครปฐม พร้อม ด้วย สิทธิ การ เดินรถ ดังกล่าว โจทก์ ย่อม มีสิทธิ ใน ทรัพย์ดังกล่าว ด้วย กึ่งหนึ่ง ส่วน ที่ จำเลย ยืนยัน ว่า ใน วันที่ โจทก์ จำเลยตกลง เลิก อยู่กิน กัน ฉัน สามี ภริยา โจทก์ ขอ เงิน 1,000,000 บาท และ จะไม่ ยุ่ง กับ สินสมรส อีก จำเลย จึง เอา เงิน ที่ ขาย ที่ดิน ตาม หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ เลขที่ 184, 185 และ 186 ได้ เงิน จำนวน7,500,000 บาท มอบ ให้ โจทก์ ไป จำนวน 1,000,000 บาท นั้น เห็นว่าเงิน จำนวน 1,000,000 บาท ดังกล่าว เป็น เงิน ที่ โจทก์ มีสิทธิ ได้ส่วนแบ่ง อยู่ แล้ว ไม่ น่าเชื่อ ว่า โจทก์ จะ ยอมรับ เงิน ดังกล่าว เพื่อแลก กับ สิทธิ ส่วนแบ่ง ใน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง สินสมรส ทั้ง จำเลยมี เพียง คำเบิกความ ลอย ๆ ว่า มี การ ตกลง กัน หา ได้ มี การ ทำ หลักฐานไว้ ไม่ ข้ออ้าง ของ จำเลย ใน ข้อ นี้ จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ ข้อเท็จจริงฟัง ไม่ได้ ว่า มี การ ตกลง แบ่ง สินสมรส กัน แล้ว โจทก์ จึง ฟ้อง ขอให้ จำเลยแบ่ง สินสมรส ได้ ด้วย เหตุ ดัง วินิจฉัย มา ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ28601 ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง เป็น สินสมรส โจทก์ จึง มีสิทธิ ได้ ส่วนแบ่ง กึ่งหนึ่ง ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ฟังขึ้น ”

สุดท้ายศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า

พิพากษากลับ ให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 28599 และ 28601ตำบล สนามจันทร์ อำเภอ เมือง นครปฐม จังหวัด นครปฐม พร้อม สิ่ง ปลูกสร้าง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 89464 และ 89465 ตำบล บางแคเหนือ อำเภอ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข-0522 นครปฐม และ รถยนต์โดยสาร ประจำทางคัน หมายเลข ทะเบียน 10-0413 นครปฐม พร้อม สิทธิ การ เดินรถ ร่วม กับบริษัท ขนส่ง จำกัด เส้นทาง เดินรถ ประจำทาง หมวด 4 สาย นครปฐม -อ้อม ใหญ่ ให้ โจทก์ กึ่งหนึ่ง หาก ตกลง กัน ไม่ได้ ให้ ประมูล ราคา กันระหว่าง โจทก์ จำเลย แล้ว นำ เงิน มา แบ่ง กัน แต่ ถ้าหาก ยัง ตกลง กัน ไม่ได้ก็ ให้ นำ ทรัพย์สิน ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด แล้ว นำ เงิน มา แบ่ง กันคำขอ อื่น ให้ยก

สรุป

คดีมีประเด็นเพียงว่าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าเป็น สินสมรสหรือไม่และทรัพย์สินที่จำเลยได้มาหลังโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าโจทก์เป็น เจ้าของรวมด้วยหรือไม่ฉะนั้นปัญหาเรื่องการจดทะเบียนหย่าสมบูรณ์หรือไม่แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ก็ตามแต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการ ดำเนินกระบวนพิจารณา โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)หาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจดทะเบียนหย่าไม่สมบูรณ์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้วแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมาโดยยังมิได้แบ่งสินสมรสกันหลังจากนั้นจำเลยนำที่ดินสินสมรสไปจำนองและซื้อที่ดิน3แปลงและร่วมกันทำประโยชน์จนกระทั่งตกลงเลิกอยู่กินฉันสามีภริยากันโจทก์จำเลยจึงร่วมกันเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวต่อมาจำเลยขายที่ดินทั้งสามแปลงแล้วนำเงินไปซื้อที่ดินใหม่2แปลงและรถยนต์2คันพร้อมด้วยสิทธิการเดินรถดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอ แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมสินสมรสที่ยังมิได้แบ่งด้วยกึ่งหนึ่ง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments