Home ทั้งหมด ฟ้องหย่าชาวอังกฤษ มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

ฟ้องหย่าชาวอังกฤษ มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

2474

ฟ้องหย่าชาวอังกฤษ มีเหตุใดบ้าง มีวิธีการอย่างไร

อาศัยเหตุหย่าเพราะครอบครัวแตกร้าวแบบมีเงื่อนไขประเทศต่อไปนี้ เป็นประเทศที่การฟ้องหย่านั้นต้องอาศัยเงื่อนไขบางประการก่อนจึงจะทำให้คู่สมรสสามารถฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลได้

ประเทศอังกฤษ (England)
ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้นหลักการหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ในเรื่องการสมรสจึงได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดในทางศาสนา ที่ถือว่าการสมรสเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมนุษย์ได้ทำการสมรสตามหลักทางศาสนาย่อมจะต้องมีสถานะเป็นสามีและภริยากันตลอดไป จนกว่าจะมีความตายมาพรากเขาทั้งสองออกจากกันจึงจะทำให้การสมรสสิ้นสุดลงได้

ดังนั้นเมื่อแนวคิดทางศาสนาไม่ต้องการให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันประเทศอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามด้วย แต่เนื่องจากยุคสมัยและสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป การจะบังคับเด็ดขาดให้บุคคลต้องคงสถานะความเป็นสามีและภริยากันตลอดไป อาจเป็นเรื่องที่ไม่สามารถบังคับได้อีก สมัยก่อนจึงได้มีการผ่อนคลายความเคร่งครัดในเรื่องนี้ลงโดยการอนุญาตให้มีการแยกกันอยู่ได้ ในลักษณะการแยกเตียงนอนและแยกที่พักออกจากกัน

พื้นฐานของหลักความผิดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายสมัยก่อนของประเทศอังกฤษ กล่าวคือ การ
จะฟ้องหย่าได้นั้นต้องอาศัยหลักความผิดของคู่สมรส เป็นเงื่อนไขสำคัญ เช่น หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
กระทํา หรือมีการกระทำทารุณโหดร้ายแก่อีกฝ่ายหนึ่ง หรือฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไป
เป็นต้น เช่นนี้เป็นเหตุที่สามารถนำมาฟ้องหย่าได้ โดยศาลจะพิจารณาจากความผิดเป็นสำคัญ ต่อมา
เริ่มมีการผ่อนคลายความเคร่งครัดลงโดยกฎหมายเปิดโอกาสให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าอีก
ฝ่ายหนึ่งได้แม้ว่าจะไม่มีฝ่ายใดกระทำความผิดก็ตาม เป็นการนำหลักปราศจากความผิดเข้ามาใช้ เช่น
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งวิกลจริตจนไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ เช่นนี้ความวิกลจริตไม่ได้เกิดจากความผิดของ
ฝ่ายใด แต่เป็นผลมาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการวิกลจริต

ดังนั้นหากว่าคู่สมรสฝ่ายที่ต้องเสียหายจากการที่อีกฝ่ายหนึ่งวิกลจริต จนฝ่ายนี้ไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับฝ่ายที่วิกลจริตได้ต่อไปย่อมเป็นเหตุให้การสมรสนั้นแตกสลายลงนั่นเอง ซึ่งตามกฎหมายอังกฤษ ระบุว่าเหตุหย่ามีเพียงเหตุเดียว คือ การสมรสได้แตกสลายลงและไม่อาจกลับคืนดีได้อีก เป็นหลักปราศจากความผิด

การหย่าตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ ต้องทำเป็นคำร้องขอหย่าเสนอต่อศาลเท่านั้น เพื่อให้ศาลได้พิจารณาเหตุเท็จจริงที่เกิดขึ้นและจะได้มีคำพิพากษาให้หย่าได้หรือไม่ต่อไป คู่สมรสไม่สามารถหย่าขาดจากกันโดยอาศัยความยินยอมเพื่อไปจดทะเบียนหย่ากันเองได้ ดังเช่นที่กระทำได้ในประเทศไทย ทั้งนี้การยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลจะพิจารณาว่าสามารถหย่าได้หรือไม่ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าการสมรสได้แตกสลายลงแล้วและไม่อาจกลับคืนดีได้อีก และมีเงื่อนไขต้องพิสูจน์จนเป็นที่พอใจแก่ศาลด้วยตามข้อเท็จจริงที่กฎหมายกำหนด เมื่อศาลได้พิจารณา
ข้อเท็จจริงที่เสนอและเห็นว่าเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ศาลจะพิพากษาให้สามีและภริยาหย่า
ขาดจากกัน ทั้งนี้การหย่าดังกล่าวมีเงื่อนไขสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อน กล่าวคือ ในการยื่นคำร้องขอ
หย่าต่อศาล คู่สมรสต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อได้เริ่มร้องขอ หรือต้องพำนักอาศัยอยู่ใน
ประเทศอังกฤษเมื่อได้เริ่มร้องขอ หรือต้องมีบ้านอยู่ในประเทศอังกฤษ จึงจะสามารถทําการยื่นคำร้อง

ต่อศาลได้ อีกทั้งเงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่งในการฟ้องหย่าได้ คือ คู่สมรสจะต้องสมรสเป็น
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ไม่เช่นนั้นคู่สมรสไม่อาจยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลได้คือ การแม้ว่ากฎหมายจะระบุเหตุหย่าไว้เพียงประการเดียวสมรสได้แตกสลายไปและไม่อาจกลับคืนดีกันได้อีก คู่สมรสก็ยังไม่สามารถหย่าขาดจากกันได้ เนื่องด้วยศาลยังไม่อาจพิพากษาให้ทั้งสองฝ่ายหย่าขาดจากกัน แต่ศาลจะต้องพิจารณาจากเงื่อนไขด้วย คือ
ข้อเท็จจริงที่คู่สมรสจะนำสืบโดยฝ่ายผู้ร้องยังคงต้องระบุเหตุหรือข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างในห้าประการต่อไปนี้

ให้ศาลพอใจเสียก่อนว่าการสมรสสิ้นสุดลงในลักษณะที่ไม่อาจ
กลับมาคืนดีกันได้จริง ศาลจึงจะมีคำพิพากษาให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันได้ อาจกล่าวได้ว่าแม้จะระบุ
เหตุแห่งการแตกสลายของชีวิตสมรสเป็นเหตุหย่าแต่เพียงเหตุเดียว แท้จริงแล้วในทางพิจารณาของ
กฎหมายและศาล คู่สมรสนั้นยังต้องมีการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือชนวนเหตุที่ทำให้ต้องฟ้องหย่า
ตามที่บัญญัติในกฎหมายประกอบด้วย ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ศาลพิจารณาได้ว่าสมควรให้ทั้งคู่หย่าขาด
จากกันหรือไม่ ไม่ใช่แค่เพียงการสมรสนั้นได้แตกสลายลงและไม่อาจกลับคืนดีได้อีกเท่านั้น ดังนี้
1. ผู้ถูกร้องกระทําชู้ จนเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจทนอยู่
2. ผู้ถูกร้องมีความประพฤติไปในทางที่เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่
3. ผู้ถูกร้องได้ทิ้งร้างผู้ร้องไป เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
4. มีการแยกกันอยู่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีติดต่อกัน
5. มีการแยกกันอยู่เป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน

เหตุหย่าตามที่บัญญัติทั้งห้าประการนั้น ส่วนหนึ่งยังคงอาศัย
หลักความผิด คือ การกระทำ การมีความประพฤติไปในทางที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจทนอยู่ร่วมกันได้อีก
และการทิ้งร้าง ส่วนการแยกกันอยู่นั้นเป็นหลักปราศจากความผิด เป็นเหตุหนึ่งในการฟ้องขอหย่าได้
เช่นกัน แม้ว่าจะมีการกำหนดข้อเท็จจริงที่ศาลต้องพิจารณาประกอบการฟ้องหย่าของคู่สมรส แต่
ข้อเท็จจริงที่ถูกกําหนดเป็นข้อกฎหมายนั้นได้ถูกกำหนดไว้ให้มีลักษณะเป็นหลักการอย่างกว้างที่ศาล
สามารถใช้ดุลพินิจในการตีความได้ เช่น (2) (5) ผู้ร้องต้องสามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าความประพฤติ
ร่วมกันได้อีกต่อไปอาจทนอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไปติดต่อกันและผู้ถูกร้องตกลงยินยอมหย่าขาด

วันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะมาแนะนำขั้นตอนง่ายๆในการฟ้องหย่าสามีหรือภริยาชาวอังกฤษที่จดทะเบียนสมรสมีวิธีการดังนี้

–>1.ฟ้องหย่าที่ศาลไหน

ฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ในจังหวัดหรือเขตที่ตั้งอยู่อยู่กินกัน หรือ ศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของภูมิลำเนาจำเลย ที่จำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่

–>2.ฟ้องหย่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาบัตรประชาชน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนบ้าน ของตนเอง และจำเลย
  • ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส
  • รูปถ่ายการอยู่กิน
  • พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุหย่า
  • สูติบัตรบุตร
  • หลักฐานหรือตารางรายการสินสมรส
  • หลักฐานที่เกี่ยวกับหนี้สินในระหว่างสมรส
  • หลักฐานค่าเลี้ยงชีพ
  • หลักฐานค่าเลี้ยงดูบุตร

–>3.เหตุแห่งการฟ้องหย่ามีเอกสารอะไรบ้าง

  1. ยกย่องหญิงอื่น/ชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้
  2. ประพฤติชั่ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่
    1. ได้รับความอับอาย
    2. ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง
    3. ได้รับความเสียหายเกินควร
  3. ทำร้ายร่างกาย หรือทรมานจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพการี
  4. ทิ้งล้างอีกฝ่ายเกินหนึ่งปี
    1. ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี
    2. สมัครใจแยกกันอยู่เกิน3ปี
  5. ถูกศาลสั่งให้สาบสูญ
  6. ไม่ให้ความช่วยเหลือหรืออุปการะเลี้ยงดู หรือทำตนเป็นปฏิปักษ์
  7. วิกลจริตมาเกิน 3 ปี
  8. ผิดฑัณฑ์บนที่เคยตกลงกันไว้เป็นหนังสือ
  9. เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
  • ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

–>4.เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ในคดีฟ้องหย่า

  • หย่าอย่างเดียว 200 บาท ค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่ามีสินสมรส เสียค่าธรรมเนียม 2 เปอร์เซ็นต์ และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ
  • หย่าเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร เสีย 200 บาท และค่าส่งหมายตามอัตราที่ศาลประกาศ

–>5ฟ้องหย่า ใช้ระยะเวลาประมาณเท่าใด

  • ประมาณ2-6เดือนในศาลชั้นต้น
  • ประมาณ3เดือนถึง6เดือนในศาลอุทธรณ์

–>6ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้หรือไม่

ได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. คู่ความผู้ขอไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ โดยขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้อง หรือ ต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ชั้นฎีกา ก็ได้ ตามมาตรา 155
  2. กำหนดเวลายื่นคำร้อง ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้อง หรือที่ได้ฟ้องคดีไว้แล้ว พร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา คำร้องสอดหรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใดๆก็ได้ มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
  3. การเสนอพยานหลักฐาน ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมกับคำร้อง และหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม ศาลจะไต่สวนโดยเร็ว มาตรา 156 วรรค 2
  4. หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
    4.1 เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือ
    4.2 หากผู้ร้องไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร #เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ หรือ ผู้อุทธรณ์ หรือฎีกา การฟ้องร้อง หรือ อุทธรณ์ หรือ ฎีกา นั้นต้องมีเหตุอันสมควรด้วย มาตรา 156/1 วรรค 2
  5. กรณีคู่ความเคยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นมาแล้ว แล้วยื่นคำร้องนั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาอีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือหากไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ ตามมาตรา 156/1 วรรค 3 เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น

–>6อุทธรณ์/ฎีกาได้หรือไม่

เป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมาย

–>6ควรฟ้องหย่าหรือไม่

หากมีเหตุหย่าควรติดต่อทีมงานทนายกฤษดา เพื่อดำเนินคดีทางศาล

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

 

 

Facebook Comments