Home ทั้งหมด เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา

1894

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (5) ได้อธิบายคำนิยามว่า“พนักงานอัยการ” หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ฟ้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอานาจเช่นว่านั้นก็ได้ นอกจากนี้ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน จะเห็นว่าการสอบสวนเป็นเงื่อนไขสาคัญของอำนาจฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ

อย่างไรก็ตามพนักงานอัยการของไทยไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน

ยกเว้นคดีความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมาย โดยได้กระทาลงนอกราชอาณาจักรไทย อัยการสูงสุดเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ แต่อานาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาเป็นของพนักงานสอบสวน โดยดำเนินการสอบสวนคดีอาญาได้อย่างอิสระ แสดงให้เห็นว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยได้แบ่งแยกความรับผิดชอบในการดำเนินการชั้นสอบสวนและฟ้องร้องคดีออกจากกัน ซึ่งการแบ่งแยกนี้อาจเกิดจากทางปฏิบัติ แต่แท้จริงแล้วการดำเนินการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการกระทาเพื่อการชี้ขาดคดีชั้นเจ้าพนักงานของพนักงานอัยการนั่นเอง หากเข้าใจเช่นนี้การดาเนินคดีอาญาของไทยในชั้นสอบสวนและฟ้องร้องก็เป็นกระบวนการเดียวกัน การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐในประเทศภาคพื้นยุโรปไม่มีการแบ่งแยกความรับผิดชอบชั้นสอบสวนและฟ้องร้องออกจากกัน

โดยการดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนและฟ้องร้องอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานอัยการเท่านั้นและเป็นกระบวนการเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพนักงานอัยการจะสอบสวนคดีอาญาทุกคดีด้วยตนเอง แต่ในกรณีจำเป็นและสมควรพนักงานอัยการสามารถเข้าไปควบคุมการสอบสวนได้ทุกคดี

ดังนั้นพนักงานอัยการไทยจึงมีฐานะเป็นเพียงผู้ตรวจพิจารณากลั่นกรองสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ไม่มีอำนาจสอบสวนหรือเริ่มคดีอาญาได้ ดังนั้นก่อนการสอบสวนพนักงานอัยการจึงเกือบไม่มีบทบาทคุ้มครองสิทธิของบุคคล เนื่องจากพนักงานอัยการมีหน้าที่เพียงพิจารณาสานวนการสอบสวนว่าเห็นสมควรจะสั่งคดีต่อไปอย่างไรเท่านั้น หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนไม่ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ ก็สามารถสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้

 หากเห็นว่าพยานหลักฐานในสานวนการสอบสวนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น สั่งงดการสอบสวน สั่งให้ความเห็นชอบในการเปรียบเทียบปรับ สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดี

การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการใช้หลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจ

เนื่องจากในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยไม่มีการกำหนดให้พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีทุกเรื่อง ซึ่งพนักงานอัยการย่อมมีดุลพินิจที่จะฟ้องคดีอาญาหรือไม่ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังอนุญาตให้พนักงานอัยการถอนฟ้องได้

 อย่างไรก็ตามการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการจะเป็นการพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพื่อออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ซึ่งโดยปกติแล้วหากตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานปรากฏให้เห็นโดยชัดเจนว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดจริงตามข้อกล่าวหาพนักงานอัยการก็จะสั่งฟ้องผู้ต้องหานั้น

แต่ในกรณีแม้ตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจะปรากฏว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดก็ตาม พนักงานอัยการอาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้นได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการฟ้องคดีจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสาคัญของประเทศ โดยเสนอต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอานาจสั่งไม่ฟ้องได้

Facebook Comments