Home ทั้งหมด ค่าเสียหายในคดีผู้บริโภค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ค่าเสียหายในคดีผู้บริโภค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

963

 

ค่าเสียหายในคดีผู้บริโภค ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ผู้ขายใช้กลฉ้อฉล (หลอกลวง) ให้ผู้ซื้อในฐานะผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า จึง เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ดังนี้ ผู้ขายต้องชดใช้ค่าเสียหายตามควรแห่งพฤติการณ์ให้แก่ผู้บริโภคนั้น ดังเช่น คำพิพากษาศาลฎีกานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2561 การที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลในการทำสัญญาด้วยการปกปิด ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคทั้งสองซึ่งประสงค์จะซื้อที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย โดยการไม่ได้ให้คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าที่จำเลยขาย แก่ผู้บริโภคทั้งสอง อันเป็นการโฆษณาที่ใช้ข้อความไม่เป็นธรรมโดยก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้า และตัดโอกาสของผู้บริโภคที่จะใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลย ดังนั้น ผู้บริโภคทั้งสองจึงไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาซื้อขายอันเป็นโมฆียะนี้ เป็นกรณีจำเลยละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภคทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ที่มีมาตรา 4 ประกอบมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รับรองไว้ จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าติดตั้งโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าประกัน มิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา ค่าธรรมเนียมสัญญาจำนอง อากรสัญญากู้และนิติกรรม และค่าประกันอัคคีภัย ซึ่ง เป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลในการปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งผู้บริโภคทั้งสองซื้อบ้าน เพื่อการอยู่อาศัย สำหรับส่วนต่างราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่ การที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลในการทำสัญญาโดยปกปิดข้อเท็จจริง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้และศาลมีอำนาจ คิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดี

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089*142*7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments