Home ทั้งหมด คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องหย่าชาวต่างชาติ

คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องหย่าชาวต่างชาติ

789

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๒๕/๒๕๕๙ (สุรภพ ปัทมะสุคนธ์ วิชา มหาคุณ เกรียงชัย จึงจตุรพิธ) ระหว่าง เรืออากาศเอก อัลเบิร์ต อาร์ วาเลนทาย โจทก์ นางประทุมทิพย์ วาเลนทาย จําเลย

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง ศาลจะไม่ พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ ซึ่ง หมายความว่ากฎหมายของประเทศตามสัญชาติคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างต้องมีบทบัญญัติกำหนด เงื่อนไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหย่าหรือเหตุหย่าไว้ศาลไทยจึงจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้หย่า ขาดจากกันได้ มิใช่ต้องเป็นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นคนสัญชาติ อเมริกันตามกฎหมายของรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเงื่อนไขการหย่าไว้และ บทบัญญัติของกฎหมายของประเทศไทยก็ระบุเงื่อนไขการฟ้องหย่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าได้ สำหรับเหตุหย่าตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย แห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทศไทย บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑๕๑/๒๕๖๐ (วีรา ไวยหงษ์ รินทร์ศรี พิศล พิรุณ กีรติ กาญจนรินทร์) ระหว่าง นาย จ. โจทก์ นาง บ. จำเลย

การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยทำถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ สมรส ได้แก่ ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาถือว่าการสมรสสมบูรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช ๒๔๘๑ มาตรา ๒๐ สำหรับเหตุ หย่าโจทก์นำสืบได้ว่ากฎหมายแห่งรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา อันเป็นประเทศแห่งสัญชาติ ของโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายประเทศแห่งสัญชาติของจำเลย ยอมให้หย่าได้ เหตุหย่าจึงให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า โจทก์มีอำนาจยื่นคำฟ้อง ขอให้ศาลสยามมีคำพิพากษาให้หย่าได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช ๒๔๘๑ มาตรา ๒๗

เนื่องจากเหตุฟ้องหย่ามีถึง ๑๒ เหตุ ในคดีฟ้องหย่าโจทก์จึงอาจอ้างเหตุฟ้องหย่าหลาย เหตุรวมกันมาก็ได้ หรือโจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ประสงค์ใช้เป็นข้ออ้างในการฟ้องให้ แจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒ วรรคสองก็ได้ เช่น โจทก์ ผู้เป็นภริยาฟ้องสามีและภริยาน้อยโดยบรรยายข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่โจทก์ต้องฟ้องหย่าว่าเป็นเพราะ จำเลยที่ ๑ มีพฤติการณ์อุปการะเลี้ยงดูยกย่องจำเลยที่ ๒ ฉันภริยา กล่าวคือ จำเลยทั้งสองเดิน

Facebook Comments