Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ สิ่งที่สังคมไม่เคยรู้ เกี่ยวกับเหตุผลคำพิพากษาคดีเก็บเห็ด

สิ่งที่สังคมไม่เคยรู้ เกี่ยวกับเหตุผลคำพิพากษาคดีเก็บเห็ด

3497

 

ก่อนอื่นเลยขออนุญาตจั่วหัวแรงเพื่ออยากให้ลองมองต่างมุม ไตร่ตรองข้อมูลให้ดีก่อนทุกวันนี้ การเสนอข่าวในโลกออนไลน์ มีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่ายแต่ขาดการตรวจสอบ ซึ่งหลายๆครั้งหลายๆกรณีจะเกิดผลเสีย กระแสด้านรบมากกว่าด้านดี บทความนี้เจตนารมณ์ของผู้เขียนอยากให้ลองมองต่างมุม ฟังเหตุผลต่างดูบ้าง เรามาลองฟังอีกมุมหนึ่งของเหตุผลข้อเท็จจริงของคำพิพากษาคดีเก็บเห็ด ในป่าสงวนดูครับ 

 

๑) ข้อหาเก็บเห็ดในป่าสงวนมีหรือไม่

ตอบ ไม่มี มีแต่ข้อหาบุกรุกและตัดไม้แผ้วถางป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ตามข้อหาที่โจทก์ฟ้อง)

๒) ข้อหาบุกรุกและตัดไม้ในเขตป่าสงวน ทำไมต้องลงโทษจำคุก ๑๕ ปี

ตอบ ศาลลงโทษจำเลยคนอื่น ๓๐ ปี รับสารภาพแล้วลดเหลือ ๑๕ ปีทุกคน จะหาเหตุผลใดมาลงโทษจำเลยทั้งสองต่างจากคนอื่น

๓) เอาสถานะความเป็น “ตายาย” มาลงโทษเบากว่าคนอื่นหรือไม่

ตอบ ข้อเท็จจริงที่อยู่ต่อหน้าศาล มีเพียงว่า นางแดง ศิริสอน อายุ 48 ปี และ นายอุดม ศิริสอน อายุ 51 ปี คงไม่มีใครคิดว่าจะเป็นตายาย

๔) สมมุติว่าศาลหยิบเรื่องอายุ (48 และ 51 ) ของจำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็น “ตายาย” แล้วรอการลงโทษหรือลงโทษกว่าคนอื่น ได้หรือไม่

ตอบ ได้ แต่คนที่ติดคุกคือศาล ไม่ใช่ตายาย

๕) ถาม ศาลหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ว่าเป็นตายายหรือเป็นคนหาเช้ากินค่ำ

ตอบ อาจมีช่องทางหนึ่งคือ การสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษา แต่วิธีการนี้ศาลจะใช้เมื่อมีกรณีศาลก่ำกึ่งว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ ไม่ใช่ใช้กับกรณีลงโทษหนักเหมือนเช่นคดีนี้

๖) ถาม ทำไมบางคดีศาลลงโทษน้อย แต่บางคดีศาลลงโทษหนัก ทั้งที่เป็นข้อหาตัดไม้ป่าสงวนเหมือนกัน

ตอบ ข้อหาเหมือนกันก็จริง แต่คดีป่าสงวน ศาลดูจำนวนเนื้อหาที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหาย หากเสียหาย ๒ ไร่ จะลงโทษเท่ากับคนตัดไม้เสียหาย ๕๐ ไร่ไม่ได้ คดีนี้สภาพการกระทำผิดมีการทำลายป่าเป็นวงกว้าง

๗) สมมุติว่า จำเลยไปรับจ้างนายทุนเข้าไปดายหญ้าในป่าสงวน จะมีความผิดหรือไม่

ตอบ มีความผิด ตามฎีกาที่ 2914/2524
อ้างอิงฎีกาที่ 2914/2524 การดายหญ้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติคือการก่นสร้างหรือแผ้วถางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยจะกระทำโดยรับจ้างหรือถูกใช้ให้กระทำ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83หาใช่จะถือว่าผู้รับจ้างไม่มีเจตนาที่จะแผ้วถางป่าไม่ อนึ่ง ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ไว้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องตามที่โจทก์ฎีกาว่า การทำลายป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดที่ร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงซึ่งไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

 

เป็นไงครับเมื่อฟังและอ่านดูแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะคิด ทำ หรือโพสต์สิ่งใดอยากให้ตระหนักคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนนะครับ

 

เครดิต…หลักและคำพิพากษา/กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

นำเสนอ โดย ทนายความกฤษดา ดวงชอุ่ม กรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ในเครือ Lawyers.in.th  ขอบคุณครับ

 

Facebook Comments