หลักกฎหมายเกี่ยวกับอายุความการลงโทษในคดีอาญา จะมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๘ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้

(๑) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี

(๒) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี

(๓) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

(๔) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น

จากบทบัญญัติของมาตรา ๙๘ ดังกล่าว เป็นบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องระยะเวลาที่จะต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามคำพิพากษา หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้วและยังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลได้ ก็จะไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นได้อีก ซึ่งผู้กระทำความผิดก็จะใช้วิธีการหลบหนีคดีให้หมดอายุความ ตามมาตรา ๙๘ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ดังนั้น

ถ้าใครคิดจะหลบหนีก็ควรพิจารณาถึงระยะเวลาที่จะต้องหลบหนีกันให้ดี ถ้าตัดสินใจที่จะหนีคดีไปอีก ๑๐ ปีหรือ ๒๐ ปี ซึ่งหากนับรวมกับอายุตัวเองขณะที่หลบหนีแล้วบางคนเท่ากับต้องหนีไปตลอดชีวิตเลย (แต่ติดคุกยังมีวันออก)

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments