Home คดีแพ่ง สาระสำคัญของพรบ.ประกันชีวิตฯตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

สาระสำคัญของพรบ.ประกันชีวิตฯตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

761

สาระสำคัญของพรบ.ประกันชีวิตฯตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะมาขอแนะนำประเด็นข้อกฎหมายในประเด็นที่ว่า  สาระสำคัญของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ที่มีการควบคุมมากกว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 นั้น ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ตัวแทนประกันชีวิต และนายหร้าประกันชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเพียงพอที่จะคุ้มครองประชาชนและผู้เอาประกันภัยจากการทำสัญญาประกันชีวิต ดังนั้นจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาใช้บังคับเพิ่มเติมจากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นรวมทั้งเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัย และพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันชีวิตให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพยิ่งขึ้น โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ที่มีการควบคุมมากกว่าที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนี้

1.กฎหมายอนุญาตให้เฉพาะบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เท่านั้น ที่จะสามารถประกอบธุรกิจรับประกันชีวิตได้ ต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่ได้มีการกำหนดตัวผู้รับประกันชีวิตเอาไว้ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัท

2.ผู้รับประกันชีวิตจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงจะสามารถประกอบธุรกิจประกันชีวิตได้

3.จะต้องมีหลักทรัพย์ของบริษัทมาวางไว้กับนายทะเบียนเป็นประกันโดยมีมูลค่าตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2539 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งให้บริษัทวางหลักทรัพย์ของบริษัทไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักประกันมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท โดยจะเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือทรัพย์สินอย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดก็ได้ เพื่อความมั่นคงของบริษัทที่ได้จีดตั้งขึ้น

4.กฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องมีเงินกองทุนเงินสำรองหรือเงินกองทุนดำรงไว้ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิตเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของเงินสำรองตามมาตรา 23 และต้องไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จึงจะสามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อรัฐมนตรีได้ ทั้งนี้บริษัทต้องยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว ตามมาตรา 7

5.หากบริษัทปล่อยให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตขาดการต่ออายุ ตามกฎหมายให้ถือว่าบริษัทนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุระกิจประกันชีวิต

ทั้งนี้ที่กฎหมายจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาจากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็เพราะการรับประกันภัยเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก หากบริษัทผู้รับประกันภัยไม่มีเงินสำรองมาใช้ให้แก่ประชาชนผู้เอาประกันภัยตามที่ตนได้รับประกันภัยแล้ว ก็ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนถึงประชาชนในสังคมจำนวนมาก รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ กฎหมายจึงต้องบัญญัติอย่างชัดแจ้งมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันชีวิตกับบุคคลใดๆ โดยไม่ได้ผ่ายหลักเกณฑ์ มีเงินสำรอง หรือหลักประกันตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

 

Facebook Comments