Home บทความคดีแพ่ง ออกเช็คแลกเงินสด มีความผิดทางอาญาหรือไม่

ออกเช็คแลกเงินสด มีความผิดทางอาญาหรือไม่

2477
  • สรุป
  • โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า “ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ” ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
Facebook Comments