Home ทั้งหมด ฎีกาใหม่ ผู้ค้ำประกันตายก่อนเจ้าหนี้ผิดนัด ทายาทต้องรับผิดหรือไม่

ฎีกาใหม่ ผู้ค้ำประกันตายก่อนเจ้าหนี้ผิดนัด ทายาทต้องรับผิดหรือไม่

2155

ฎีกาใหม่ ผู้ค้ำประกันตายก่อนเจ้าหนี้ผิดนัด ทายาทต้องรับผิดหรือไม่

คำถาม ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายขณะลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ สิทธิหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทหรือไม่ภายหลังลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หากลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้มาโดยตลอด
แต่ไม่ตรงกำหนดตามสัญญา ชำระไม่ครบจำนวนที่ต้องชำระตามงวด บางครั้งชำระเงินจำนวนที่ต้องชำระหนี้ต่องวด และเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้ไว้ ดังนี้ จะถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ชำระหนี้เมื่อใด

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๓/๒๕๖๔

สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัว ผู้ค้ำประกันจึงมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้

ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อจ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหนี้อันสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๘๑รรคหนึ่ง แม้ขณะที่จ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ ๑ ผู้กู้ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของจ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่จ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๖๐๐ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. ผู้ตาย แต่ไม่จำต้อง

รับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๑ภายหลังจากที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้มาโดยตลอดแต่เป็นการชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดตามสัญญาบางครั้งชำระไม่ครบจำนวนที่ต้องผ่อนชำระต่องวด และบางครั้งชำระเงินจำนวนที่ต้องผ่อนชำระต่องวด แต่โจทก์๑ และ
เมื่อยอมรับชำระหนี้ไว้โดยตลอดแสดงว่าโจทก์ยอมผ่อนผันการผิดนัดให้จำเลยที่ถือว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสำคัญโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้งสี่ให้ชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระมาชำระแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ

หากพ้นกำหนดไม่ชำระโจทก์ขอบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ได้นำเงินทั้งหมดไปชำระแก่โจทก์ให้ครบถ้วนภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยที่ ๑ ผิดนัดอันเป็นเวลาภายหลังวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ซึ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ.๒๕๕๗ มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๘๖ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้เจ้าหนี้มีหน้าที่ส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ ๑ผิดนัด แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่๒ ถึงที่ ๔

คงมีเพียง4 ผิดนัด เมื่อโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวใหม่ภายหลังจากที่ถือว่าจำเลยที่ ๑ ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๔๖ วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ 4 ทายาทดยธรรมของจ่าสิบตำรวจหรือดาบตำรวจ ร. รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ២ ถึงที่รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๗ หนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments