Home ทั้งหมด การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์เมื่อใด

การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์เมื่อใด

1049

การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์เมื่อใด

การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้เมื่อสามีและภริยาตกลงกันทำหนังสือหย่าโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง สองคนแล้ว

ทั้งสามีและภริยาจะต้องนำหนังสือหย่านี้ไปจดทะเบียนการหย่า ณ ที่ว่าการ อำเภอ ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนการหย่าก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๑๕ อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ นี้ใช้บังคับ เฉพาะการสมรสที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ เท่านั้น สำหรับชายหญิงที่เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

เมื่อจะหย่ากันด้วยความยินยอมจะทำหนังสือหย่ากันตาม มาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง เท่านั้น ก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่ต้องจดทะเบียนการหย่าอีก นอกจากนี้การสมรสอาจได้จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ เช่น จดทะเบียนสมรส กันในต่างประเทศตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อไม่มีการ จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ก็ไม่จำเป็นต้อง จดทะเบียนการหย่าเช่นเดียวกัน การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์โดยไม่ต้องจดทะเบียน การหย่า

ถ้าสามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว แต่สามีไม่ยอมจดทะเบียน การหย่า ภริยาย่อมฟ้องให้ศาลบังคับให้สามีไปจดทะเบียนการหย่าได้ ถ้าจำเลยไม่ไป จดทะเบียนหย่ากับโจทก์ ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๒๐/๒๕๓๗) ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลเยาวชนและครอบครัว (คำวินิจฉัยของ ประธานศาลฎีกาที่ ๒/๒๕๔๐)

การทำหนังสือหย่าที่จะมีผลใช้บังคับกันได้สามีและภริยาจะต้องมีเจตนาที่จะ หย่าขาดจากกันจริง ๆ หากเพียงทำหนังสือหย่ากันพอเป็นพิธีโดยมิได้มีเจตนาที่จะหย่า ขาดกันจริง ๆ เช่น เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลอกเจ้าหนี้ ฯลฯ หนังสือหย่าดังกล่าว มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้แม้ในชั้นแรกสามีและภริยามีเจตนาที่จะหย่าขาดกันจริง ๆ โดยได้ทำหนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อ ๒ คนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการหย่ายัง ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนการหย่า สามีและภริยาจึงอาจตกลงกันเลิกสัญญา หย่านั้นได้

Facebook Comments