Home ทั้งหมด  แนวคิดและวิวัฒนาการของการหย่าในกฎหมายไทย

 แนวคิดและวิวัฒนาการของการหย่าในกฎหมายไทย

502

แนวคิดและวิวัฒนาการของการหย่าในกฎหมายไทย

เมื่อการหย่ามีมาแต่โบราณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวความคิดในด้านต่างๆ ทั้ง ด้านความเป็นมา ศาสนา รวมถึงความสำคัญของเหตุหย่าที่ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน

 แนวคิดเกี่ยวกับการหย่าในมุมมองของศาสนา

ในอดีตผู้คนนับถือศาสนาต่าง ๆ แตกต่างหลากหลาย อาทิ ศาสนาคริสต์ ศาสนา พุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นต้น ซึ่งศาสนาเหล่านี้ล้วนเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือ กันมากและเป็นศาสนาที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งเรื่องของความคิด ความเชื่อ วิถีการ ดำรงชีวิต แม้กระทั่งการสมรสหรือเงื่อนไขที่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับเงื่อนไขในการหย่าร้างโดยตรงจึงต้องนำมาพิจารณา เพื่อ ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของศาสนาต่อเหตุหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งจะแยกพิจารณา

ความสัมพันธ์ของความเชื่อในพุทธศาสนาในมุมมองของไทย ศาสนาพุทธเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมี ผู้คนจำนวนมากทั่วทุกมุมโลกนับถือศาสนานี้เป็นจำนวนมาก สำหรับเรื่องที่ว่าด้วยการสมรสนั้นตาม แนวคิดในทางศาสนาไม่ได้มีการวางกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน แต่สามารถพิจารณาได้ จากข้อความต่อไปนี้ “In Buddhism, marriage is regarded as entirely a personal, individual concern and not as a religious duty.”1

สรุปความได้ว่า

ศาสนาพุทธเห็นว่าการสมรสเป็นเรื่องเสรีของปัจเจก บุคคลที่มีอิสระในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่หน้าที่ในทางศาสนาที่จะต้องเข้ามีส่วนร่วมในการ กระทำดังกล่าว จึงไม่ได้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้ แม้ว่าในทางศาสนาจะไม่ได้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์บังคับในเรื่องเช่นว่านั้นฃ

แต่ได้มีการวางแนวทาง คำแนะนำ หลักคำสอนหรือหลักธรรม ในเรื่องของการใช้ชีวิตสมรสให้มความสุขไว้หลายประการ อาทิ การซื่อสัตย์ต่อการเป็นสามีภริยา การไม่ประพฤติผิดศีลธรรมในทาง เพศ ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้ได้ถูกคัดลอกมาจากส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกซึ่งมีความว่า “ดูก่อน คฤหบดี และคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งสองฝ่าย นั่นแหละ พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามี ทั้งสองนั้น ก็จะได้พบกันและกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”2 ในทางศาสนาพุทธ การจะมีชีวิตสมรสที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ ในชีวิตคู่และได้มาลงเอยเป็นคู่กันนั้น ทั้งชายและหญิงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกัน คือ จะต้องเป็นผู้ ที่มีความเสมอกันในด้านต่างๆ จึงจะท าให้มาพบพานและครองคู่อยู่ด้วยกันเป็นสามีภริยาได้ทั้งในชาติ นี้และชาติหน้า ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากหลักธรรมในการเลือกคู่ครอง คือ สมชีวิธรรม 4 (Qualities which make a couple well matched) หรือที่เรียกว่า

สมธรรม 4 ประการ ดังนี้

1. สมศรัทธา (To be matched in faith) คือ การมีศรัทธาเสมอกัน อันหมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใสที่เสมอกันเป็นไปในทางเดียวกัน เช่น ความเชื่อถือในลัทธิศาสนา ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยและความใฝ่นิยมในคุณค่าหรือสิ่งที่ยึดถือเข้าใจว่าเป็นความดีงามต่าง ๆ ความมีศรัทธาเสมอกันย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่จะท าให้ชีวิตการครองเรือน ครองคู่ มีความแน่นแฟ้น เพราะศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิด และเป็นพลังชักจูงใจในการด าเนินชีวิตและ กระท ากิจการต่าง ๆ

2. สมศีลา (To be matched in moral) หมายถึง การมีศีล มีความ ประพฤติเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความ รังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยามหรือขัดแย้งรุนแรงระหว่างกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งปากร้ายชอบกล่าวคำหยาบ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ทำให้ไม่สามารถทนฟังค าหยาบได้หรือกรณีที่ฝ่ายหนึ่ง ชอบทำตัวเป็นนักเลงแต่อีกฝ่ายหนึ่งชอบชีวิตเงียบสงบ เป็นต้น อาจทำให้เกิดความร้าวฉานและเป็น เหตุให้เลิกรากันได้ เพราะความมีศีลไม่เสมอกัน

3. สมจาคา (To be matched in generosity) หมายถึง ความมีนำ้ใจ ความมีใจกว้างที่สามารถช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ หรือความเสียสละที่มีเสมอเหมือนกัน ซึ่งคู่ครองที่มีจาคะไม่เสมอกัน เช่น มีความตระหนี่ถี่เหนียว ใจแคบ ย่อมมีโอกาสเกิดความขัดแย้ง กระทบกระเทือนจิตใจกันได้อันทำให้ชีวิตครอบครัวไม่สงบสุข

4. สมปัญญา (To be matched in wisdom) หมายถึง การมีปัญญา เสมอกัน คือ ความรู้จักเหตุผล รู้จักดีชั่ว ความสามารถในการใช้ความคิดและเข้าใจในเหตุผลต่าง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 0891427773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments