Home บทความคดีแพ่ง ไม่มีสัญญาเงินกู้ ฟ้องร้องดำเนินคดีเช็คได้หรือไม่

ไม่มีสัญญาเงินกู้ ฟ้องร้องดำเนินคดีเช็คได้หรือไม่

2009

 

ไม่มีสัญญาเงินกู้ ฟ้องร้องดำเนินคดีเช็คได้หรือไม่

หนี้เงินกู้หนี้ที่ฟ้องร้องกันไม่ได้คือบังคับตามกฎหมายไม่ได้เพราะขาดหรือไม่มีหลักฐาน

เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ต้องรับผิด เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้นถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น

หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นว่าการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทโดยมิได้ให้ผู้กู้

ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นนิติกรรมสัญญาที่ใช้บังคับได้ ผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้ และเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงแต่จะบังคับกันไม่ได้ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ดังนั้นถ้าโจทก์ ให้จำเลยกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท

โดยมิได้ให้จำเลยทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ จำเลยในฐานะผู้กู้ ก็เท่ากับหนี้นั้นมีอยู่จริงแต่บังคับตามกฎหมายไม่ได้เพราะนำไปฟ้องร้อง ต่อศาลไม่ได้

ผลแห่งการนี้ถือว่าเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้นเป็นการออกเช็ค เพื่อช้าระหนี้ที่มีอยู่จริงแต่บังคับตามกฎหมายไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาฎีกาที่ 1716/2535, 1717/2535, 3484/2535, 1519/2535)

หลักฐานแห่งการกู้ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นสัญญาเต็มรูปแบบ อาจจะเป็นจดหมายโต้ตอบซึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ก็ใช้ได้

หรือกรณีบันทึกคำเบิกความของจำเลยในคดีอาญาก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือ สามารถนำมาฟ้องร้องบังคับจำเลยคดีแพ่งได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1286/2535)

ในกรณีดังกล่าวหากจำเลยออกเช็คชำระหนี้และลงวันที่หลังวันที่จำเลยเบิกความในคดี

หนี้ตามเช็คฉบับนั้นก็ใช้บังคับตามกฎหมายได้ จำเลยมีความผิดทางอาญา

สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

Facebook Comments